วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563




คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นค้าที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา
ลองนึกดูว่าทรายที่เราเห็นอยู่บนพื้นดิน ตามชายหาด ชายทะเลเป็นสารประกอบของซิลิกอน ทรายเหล่านั้นมีราคาต่ำและเรามองข้ามไป ครั้งมีบางคนที่เรียนรู้วิธีการแยกสกัดเอาสารซิลิกอนให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์ และไอซี (Integrated Circuit : IC) ไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้เป็นชิพซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ สารซิลิกอนดังกล่าวเมื่อผ่านกรรมวิธีทางเทคโนโลยีแล้วจะมีราคาสูงสามารถนำมาขายได้เงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพราะเรานำเอาวัตถุดิบมาผ่านเทคนิคการดำเนินการ จะได้วัตถุสำเร็จรูป สินค้าเหล่านี้จะมีมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบนั้นมาก ประเทศใดมีเทคโนโลยีมากมักจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เทคโนโลยีจึงเป็นหาทางที่จะช่วยในการพัฒนาให้สินค้าและบริการมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทุกประเทศจึงให้ความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยงานด้านต่าง ๆ
ส่วนคำว่าสารสนเทศ หมายถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจายเมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมุลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใข้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น
ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ

การกำเนิดของคอมพิวเตอร์เมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่ยุคสารสนเทศ ในช่วงแรกมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณ แต่ต่อมาได้มีความพยายามพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการจัดการข้อมูล เมื่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น สภาพการใช้งานจึงใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมจึงมีมาก มีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมกล่าวได้ดังนี้
การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควมคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น
เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาสเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอการการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่ใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร
สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมากขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่าโทรมาตร เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน
การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น

เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวันบทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป










                             ที่มารูป  https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/banner.jpg




                                 ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=yQSZmrUz6iw
                            

ที่มาข้อมูล : https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/#sect1




องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
 มี 4 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, บุคลากร, ข้อมูลและสารสนเทศ


ที่มา : http://static.soposted.com/uploads/2018/02/Acer-aspire.jpg

     คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ electronic device (อิเล็กทรอนิกส์ ดีไว) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์อื่นที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง
1. Hardware (ฮาร์ดแวร์) คือ ลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง peripheral (เพอริพีรีว) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ , เครื่องพิมพ์, ซีพียู, เมนบอร์ด, แรม, การ์ดจอ, ไดร์ฟ ดีวีดี, เคส, จอภาพ, คีบอร์ด, เมาส์  เป็นต้น
ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
     - หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้นหน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทางหน่วยแสดงผลลัพธ์
     - หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราว ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป
     - หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็บข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก
2. Software (ซอฟต์แวร์) คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใด ๆ เนื่องจากต้องมี Software (ซอฟต์แวร์) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ Programming Language (โปรแกรมิงแลงเกท) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ Programmer (โปรแกรมเมอร์) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ
     - ซอฟต์แวร์ระบบ System Software (ชิสเต็ม ซอฟแวร์) โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป
     - ซอฟต์แวร์ประยุกต์ Application Software (แอพพลิเคชัน ซอฟแวร์) จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
3. บุคลากร Peopleware (พิเพิลแวร์) เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ user (ยูเชอร์)
4. ข้อมูลและสารสนเทศ Data Information (ดาต้า อิมฟอเมชัน) ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้











ที่มาข้อมูล : https://www.mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/65-archive/4083-computer-composition.html



เครื่องพิมพ์ (printer)
เป็นอุปกรณ์ของหน่วยส่งออกที่ใช้ในการแสดงผลจากคอมพิวเตอร์ลงบนกระดาษหรือสิ่งพิมพ์ที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้งานต่อได้ ซึ่งโดยทั่วไปจะพิมพ์ลงบนกระดาษ

  
1) เครื่องพิมพ์แบบจุด
เครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix printer) มีหัวพิมพ์เป็นเข็นขนาดเล็กหลายเข็มเมื่อต้องการพิมพ์ตัวอักษรใด เครื่องพิมพ์จะสั่งให้หัวเข็มบางหัวทำการกระแทกลงบนผ้าหมึกเพื่อให้ปรากฏเป็นรูปของตัวอักษรที่เกิดจากจุดเรียงต่อกัน หัวเข็มอาจจะมี 9 หรือ 24 หัวการพิมพ์จะพิมพ์ทีละหนึ่งตัวอักษร ทีละบรรทัดจากด้านซ้ายไปยังด้านขวาของกระดาษ วิธีการพิมพ์ตัวอักษรหนึ่งตัวอักษรของเครื่องพิมพ์แบบจุด แม้ว่าเครื่องพิมพ์แบบจุดจะมีข้อจำกัดในด้านการพิมพ์กราฟฟิก และเสียงดังจากการทำงาน แต่ปัจจุบันเครื่องพิมพ์แบบนี้ก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันในงานเฉพาะเช่น งานพิมพ์เอกสารทางการเงินที่ต้องการสำเนาหลายชุด เป็นต้น



ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiEIx8wBtNSmcdyfnaRiw9bRWNTijZOvU7bqA6C7R2FvRtsjtNwJXno6tOW4sqnUnzcbul2_q7tlMf95SJH4jF-RwgOmUdEtKeHZ4yt0cXjMXiwEHCd5FIRJqHcnXWw8Mj2yiT1xoG4Wgs/s1600/dot-matrix-printer-600.jpg


  
2) เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์
ที่มา : https://www.imore.com/sites/imore.com/files/styles/larger/public/field/image/2016/11/brother-all-in-one-laser-printer-01.jpg?itok=HFeaCuXP

เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (laser printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้วิธีการทางแสงทำให้ผงหมึกไปติดกระดาษที่ต้องการพิมพ์ มีความเร็วในการพิมพ์สูงสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่า 10 แผ่นต่อวินาที (page per minute: ppm) สามารถพิมพ์ตัวอักษร และภาพกราฟิกที่มีความคมชัดได้สูง โดยมีความละเอียดในการพิมพ์สูงกว่า 600 จุดต่อนิ้ว (dot per inch: dpi) มีทั้งแบบที่พิมพ์ เอกสารขาวดำ และแบบสี เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ไม่สามารถพิมพ์สำเนาได้เหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบจุด เครื่องพิมพ์เลเซอร์นิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพสูง เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ทำให้ผงหมึกติดบนกระดาษได้อย่างไร เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ใช้วิธีการฉายภาพของเอกสารด้วยแสงเลเซอร์ไปบนอุปกรณ์ที่เรียกว่า ดรัม (drum)  ทำให้พื้นที่ที่จะพิมพ์มีประจุไฟฟ้าเปลี่ยนไปแล้วดรัมจะหมุนไปดูดซับผงหมึกเข้ามาติดในบริเวณที่มีประจุจากนั้นจะอัดผงหมึกเข้ากับกระดาษโดยใช้ความร้อนทำให้ผงหมึกไปติดที่กระดาษอันตรายเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ เนื่องจากเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ใช้ผงหมึกในการพิมพ์เอกสาร จึงได้มีผู้ศึกษาถึงปริมาณและอันตรายของฝุ่นผงหมึกที่หลุดออกมาขณะที่เครื่องพิมพ์ทำงานโดยเกรงกันว่าฝุ่นผงหมึกเหล่านี้อาจมีผลเสียต่อการทำงานของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ เช่น ปอด และอาจเป็นสารก่อมะเร็ง แม้ว่าผลเสียเหล่านี้จะยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างแน่นอน ผู้ใช้เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ก็สามารถป้องกันผลเสียที่อาจจะมีได้โดยการติดตั้งเครื่องพิมพ์ไว้ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทสะดวกการนำกล่องผงหมึกกลับมาใช้ใหม่กล่องผงหมึกทำจากวัสดุโลหะและพลาสติกที่ย่อยสลายไม่ได้ตามธรรมชาติ รวมทั้งผงหมึกเป็นสารเคมีที่ก่อมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมถ้าหากมีการทิ้งขยะตามกระบวนการปกติ ดังนั้นเราจึงควรนำกล่องผงหมึกกลับมาใช้ใหม่ (recycle) โดยบริษัทผู้ผลิตกล่องผงหมึกทุกบริษัทจะรับกล่องผงหมึกเก่าเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อยู่แล้ว เมื่อต้องการเปลี่ยนกล่องผงหมึกจึงควรติดต่อบริษัทผู้ผลิตเพื่อขอคืนกล่องผงหมึก เป็นการร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีทางหนึ่ง


3) เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก
ที่มา : https://assets.pcmag.com/media/images/505510-best-inkjet-inline.jpg?thumb=y&width=740&height=417

เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (inkjet printer) ใช้การพ่นน้ำหมึกหยดเล็ก ๆ ลงไปบนพื้นผิวที่ต้องการพิมพ์ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นกระดาษอาจจะเป็นพื้นผิวพลาสติกบนแผ่นซีดี หรือแม้กระทั่งเสื้อยืดและสามารถพิมพ์ได้ทั้งสีขาวและสีดำ เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกมีราคาไม่สูงนักเมื่อเทียบกับเครื่องพิมพ์แบบอื่น จึงนิยมใช้กันทั่วไปตามบ้านเรือนหรือสำนักงานขนาดเล็ก เทคโนโลยีที่ดีขึ้นมากในปัจจุบันสามารถทำให้หยดหมึกมีขนาดเล็กลงจึงทำให้เครื่องพิมพ์ชนิดนี้มีความละเอียดในการพิมพ์สูงมากจนเทียบเท่า หรืออาจจะดีกว่าเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์บางรุ่น ข้อเสียของเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกคือกล่องน้ำหมึก (ink cartridge) มีขนาดเล็กแระรองรับการพิมพ์ได้ไม่มาก กล่องน้ำหมึกโดยทั่วไปจะรอบรับงานพิมพ์เอกสารได้ประมาณ 500 แผ่น ทำให้ต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก
4) เครื่องพิมพ์ความร้อน
ที่มา : http://i.ebayimg.com/images/i/261550190108-0-1/s-l1000.jpg
เครื่องพิมพ์ที่พบเห็นในการพิมพ์สลิปจากเครื่องเอทีเอ็มหรือบัตรเครดิต   คือเครื่องพิมพ์ความร้อน (thermal printer)  ใช้เข็มความร้อน   (heated  pin)  เล็ก ๆ  กดลงไปบนกระดาษที่ไวต่อความร้อน   เพื่อทำให้กระดาษเปลี่ยนเป็นสีดำ    เครื่องพิมพ์ความร้อนประเภทนี้มีราคาถูกแต่คุณภาพต่ำ   และพิมพ์ได้แต่ขาวดำ   จึงนิยมใช้กันในเครื่องพิมพ์สลิปบัตรเครดิตหรือเครื่องพิมพ์ใบเสร็จขนาดเล็ก     เครื่องพิมพ์ความร้อนที่มีคุณภาพสูงขึ้นมาอาจใช้เทคนิคที่เรียกว่า    การถ่ายเทขี้ผึ้งความร้อน  (thermal  wax-transfer)  เป็นการทำให้ขี้ผึ้งสีที่ร้อนไปย้อมติดอยู่บนกระดาษแต่ก็ให้คุณภาพของงานพิมพ์สีที่ไม่ดีนัก  เครื่องพิมพ์ความร้อนที่ให้คุณภาพงานพิมพ์สีดีที่สุดคือเครื่องที่ใช้เทคนิคการระเหิดสีย้อม  (dye-sublimation)   โดยการทำให้สีย้อมระเหิดกลายเป็นไอไปติดอยู่บนพื้นผิวของกระดาษที่เคลือบสารพิเศษไว้   ทำให้ได้คุณภาพสีที่ดีระดับมืออาชีพแต่มีราคาสูงมาก



ที่มาคลิปจาก : https://www.youtube.com/watch?v=JEVurb1uVFA

ที่มาข้อมูล : https://infotechlearning.wordpress.com